ประวัติสำนักงาน
ประวัติสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง
เดิมคือ………..สํานักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดพัทลุง เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย เปิดดําเนินการตั้งแต่ปี 2519 โดยมี นายสมบัติ วาสนา เป็นประชาสงเคราะห์จังหวัดพัทลุงเป็นคนแรก และเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2536 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2536 ขึ้น ทําให้สํานักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดพัทลุง กรมประชาสงเคราะห์ ได้ เปลี่ยนสังกัดจากกระทรวงมหาดไทยมาอยู่ในสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 จัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมี สํานักงานพัฒนาสังคมและ สวัสดิการจังหวัดเป็นส่วนราชการในภูมิภาคระดับจังหวัด และมีพระราชกฤษฎีกาให้โอนทรัพย์สิน บุคลากรของสํานักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดพัทลุง ไปขึ้นกับสํานักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดพัทลุง และเนื่องจากในระยะเวลาที่ ผ่านมา ประชาชนเกิดความสับสนในชื่อและหน่วยงานต้นสังกัดของสํานักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด โดยมีความเข้าใจว่าเป็นหน่วยงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่ งเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของกระทรวง การพัฒนาสังคมฯ และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านสวัสดิการสังคม ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จึงได้เสนอขอแก้ไขชื่อสํานักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด เป็น “สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด” (พมจ.) สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง เป็นหน่วยงานการบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีอํานาจหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ และรายงาสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อการกําหนดนโยบายในระดับจังหวัดรวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไข ประสานและจัดทําแผนงาน โครงการและกิจกรรม ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดให้เป็นไปตามแนวนโยบายของกระทรวง ส่งเสริมและประสานการดําเนินงาน การจัดกิจกรรม ต่าง ๆ ตามภารกิจ และเป้าหมายของหน่วยงานในกระทรวง ส่งเสริม สนับสนุนและประสานการดําเนินงานกับองค์กรเครือข่ายในจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งเสริม ประสานงาน และดําเนินการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม รวมทั้งส่งต่อให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอํานาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการดดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งการก้าวหน้าทางวิชาการและผลการปฏิบัติงาน ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์การปฏิบัติงานร่วมกัน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งออกเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่ม ได้แก่
– ฝ่ายบริหารทั่วไป
– กลุ่มนโยบายและวิชาการ
– กลุ่มการพัฒนาสังคม
– กลุ่มการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ